มีวัตถุประสงค์ดังนี้
ส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่องให้กับผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ทางวิชาการด้านการสัตวแพทย์และศาสตร์อื่น ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาตนเองโดยติดตามความก้าวหน้าทางวิชาชีพ วิชาการและเทคโนโลยีใหม่เพื่อนำไปปฏิบัติและพัฒนาประยุกต์ใช้งานอันจะก่อให้ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ
มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์มีการเพิ่มพูนและพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง
2. พิจารณากำหนดมาตรฐานการจัดการศึกษาต่อเนื่อง
3. รับรองสถาบันที่จัดการศึกษาต่อเนื่อง
4. รับรองกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องและจำนวนหน่วยกิตสะสม
5. เก็บและรับรองหน่วยกิตสะสมหรือผลการทดสอบของผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
6. ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารของ ศ.ศ.สพ. สู่สมาชิกสัตวแพทยสภา
นับตั้งแต่สัตวแพทยสภาได้ออกประกาศคณะกรรมการสัตวแพทยสภาที่ 9/2547 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2547
เรื่อง การจัดตั้งศูนย์การศึกษาต่อนื่องทางสัตวแพทย์ (ศ.ศ.สพ.)เพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษาต่อเนื่องทางสัตวแพทย์ให้กับผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ได้มีการเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการสัตวแพทย์และศาสตร์อื่นที่
เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องนั้น ศ.ศ.สพ. ได้มีการแบ่งกลุ่มประเภทกิจกรรมและจำนวนหน่วยกิตของกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องทางสัตวแพทย์ ออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เป็นกิจกรรมที่เผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ หรือองค์ความรู้เดิมที่ได้ถูกทบทวนให้ทันสมัย และเป็นมาตรฐาน ที่ยอมรับในวงการวิชาชีพ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถทางวิชาชีพหรือวิชาการ ประกอบด้วย
- การประชุมวิชาการทางสัตวแพทย์ ระดับชาติ ผู้ร่วมประชุม จะได้รับ 1 หน่วยกิต/ชม. (ไม่เกิน 5 หน่วยกิต/วัน)
- การประชุมวิชาการทางสัตวแพทย์ ระดับนานาชาติ ผู้ร่วมประชุมจะได้รับ 1.5 หน่วยกิต/ชม. (ไม่เกิน 6 หน่วยกิต/วัน)
- การบรรยายพิเศษ/ ภายในประเทศ ผู้ฟังบรรยายจะได้รับ 1 หน่วยกิต/ชม.
- การบรรยายพิเศษ/การบรรยายชุดพิเศษ ในต่างประเทศ ผู้ฟังบรรยายจะได้รับ 1.5 หน่วยกิต/ชม.
- การสัมมนาวิชาการ/การประชุมเชิงปฏิบัติการ/การฝึกอบรม/การอภิปรายหมู่ ผู้ฟังบรรยายจะได้รับ 0.5 หน่วยกิต/ชม.
กลุ่มที่ 2 เป็นกิจกรรมกลุ่มที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ ความสามารถทางวิชาชีพหรือวิชาการ ประกอบด้วย
- กิจกรรมสโมสรวารสาร/การประชุมวิชาการภายในหน่วยงาน/การประชุมวิชาการระหว่างหน่วยงาน ผู้ฟังบรรยายจะได้รับ 0.5หน่วยกิต/ชม.
กลุ่มที่ 3 เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ และพัฒนาความรู้ด้วยตนเอง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อยได้แก่
3.1) เป็นกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ การตีพิมพ์ผลงานวิจัย บทความ และกรณีศึกษา ประกอบด้วย
- ตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการภายในประเทศ ชื่อแรก/ชื่อหลัก 5 หน่วยกิต/เรื่อง ชื่อรอง 2.5 หน่วยกิต/เรื่อง
- ตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการต่างประเทศ ชื่อแรก/ชื่อหลัก 10 หน่วยกิต/เรื่อง ชื่อรอง 5 หน่วยกิต/เรื่อง
- ตีพิมพ์บทความในสิ่งตีพิมพ์อื่นๆ ชื่อแรก/ชื่อหลัก 3 หน่วยกิต/เรื่อง ชื่อรอง 1.5 หน่วยกิต/เรื่อง
3.2) เป็นกิจกรรมการประเมิน ประกอบด้วย
- ผู้ประเมินบทความ ผลงานวิจัย และโครงการวิจัย
- ผู้ประเมิน (ภาษาไทย)จะได้รับ 3 หน่วยกิต/เรื่อง
- ผู้ประเมิน (ภาษาอังกฤษ)จะได้รับ 6 หน่วยกิต/เรื่อง
- ผู้ประเมินตำแหน่งวิชาการ จะได้รับ 5 หน่วยกิต/ราย
3.3) เป็นกิจกรรมการผลิตสื่อวิชาการ ได้แก่ การผลิตตำรา
วิดีทัศน์ การเรียนรู้ด้วยตนเองทางคอมพิวเตอร์ วารสารวิชาการ การผลิตสื่อวิชาการ และข้อสอบสำหรับสัตวแพทยสภาและการศึกษาต่อเนื่องทางสัตวแพทย์ ฯลฯ
- ผู้ผลิตหลัก 10 หน่วยกิต/ผลงาน ผู้ร่วมในการผลิต 5 หน่วยกิต/ผลงาน
- ตำราจำนวนต่ำกว่า 100 หน้าได้รับ 20 หน่วยกิต
จำนวน 100-200 หน้าได้รับ 40 หน่วยกิต
จำนวน 201-300 หน้าได้รับ 60 หน่วยกิต
จำนวน 301-400 หน้าได้รับ 80 หน่วยกิต
จำนวน 401 หน้าขึ้นไปได้รับ 100 หน่วยกิต
- ผู้ผลิตข้อสอบสำหรับศ.ศ.สพ. ได้แก่ ชุดคำถาม-คำตอบ
(เนื้อเรื่องสั้น) 10 หน่วยกิต/เรื่อง ชุดคำถาม-คำตอบ (เนื้อเรื่องยาว /วิดีทัศน์) 30 หน่วยกิต/เรื่อง
- ผู้ผลิตข้อสอบสำหรับศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถ ขั้นพื้นฐานของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ 1 หน่วยกิต/ข้อ
3.4) เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านจากสื่อ หรือการตอบคำถาม ประกอบด้วย
- การตอบคำถามจากบทความในวารสารหรือสื่ออื่นที่ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางสัตวแพทย์รับรอง
ผู้ตั้งคำถาม 5 หน่วยกิต/ผลงาน ผู้ตอบ 1 หน่วยกิต/ผลงาน
- การเรียนรู้ทางอินเตอร์เน็ตที่ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางสัตวแพทย์รับรอง/การเรียนรู้จาก e-learning ของสัตวแพทยสภา ผู้เรียนรู้ (เนื้อเรื่องยาว/วิดีทัศน์) 3 หน่วยกิต/บทเรียน ผู้เรียนรู้ (เนื้อเรื่องสั้น) 1 หน่วยกิต/บทเรียน
3.5) การศึกษาต่อในสายงานวิชาชีพการสัตวแพทย์หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ผู้ศึกษา 15 หน่วยกิต/เทอม
3.6) เป็นกิจกรรมการพัฒนาองค์ความรู้จากประสบการณ์/การบริหารงานด้านวิชาชีพการสัตวแพทย์ ระดับชาติ กิจกรรมละ 5 หน่วยกิต ระดับนานาชาติ กิจกรรมละ 10 หน่วยกิต (ไม่เกิน 20 หน่วยกิต/ปี)
3.7) เป็นกิจกรรมพัฒนาองค์ความรู้วิชาชีพการสัตวแพทย์และเผยแพร่สู่สาธารณะ ระดับชาติ ชั่วโมงละ 1 หน่วยกิต (ไม่เกิน 5 หน่วยกิต/วัน) ระดับนานาชาติ ชั่วโมงละ 2 หน่วยกิต (ไม่เกิน 10 หน่วยกิต/วัน) (ไม่เกิน 20 หน่วยกิต/ปี)
3.8) เป็นกิจกรรมด้านวิชาชีพการสัตวแพทย์สำหรับสัตวแพทย์อาวุโส (อายุ 55 ปีขึ้นไป)
- บทความที่เป็นประสบการณ์ทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพการสัตวแพทย์ ถือว่าเป็นเกณฑ์ปกติได้รับ 50 หน่วยกิต
- บทความปกติที่มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ ทางด้านวิชาชีพการสัตวแพทย์ 100 หน่วยกิต (ขอรับรองหน่วยกิตไม่เกินปีละ 2 ครั้ง)
กลุ่มที่ 4 เป็นกิจกรรมที่ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มกิจกรรมที่ 1 หรือ กลุ่มที่ 2 หรือ กลุ่มที่ 3 ได้ จัดเป็นกลุ่มกิจกรรมอื่นๆ ที่นอกเหนือจากที่ประกาศโดยบุคคล หรือกลุ่มบุคคล หรือสถาบันได้ยื่นขอการรับรองจากศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทาง สัตวแพทย์ และได้รับการรับรอง
โดย..ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ที่เป็นสมาชิกของสัตวแพทยสภา จะต้องสะสมหน่วยกิตให้ครบ 100 หน่วยกิตขึ้นไป จึงจะสามารถต่อใบอนุญาตฯ ได้ สำหรับผู้ที่ใบอนุญาติหมดอายุ ต้องทำใบอนุญาติใหม่เท่านั้น
หากสมาชิกฯ.. ท่านใดมีข้อสงสัยในการเก็บสะสมหน่วยกิต สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่
ศ.ศ.สพ.โทร 0-2017-0700-8 ต่อ 203, 205, 201
email :
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.